รู้จักจังหวัดปัตตานี
คำขวัญประจำจังหวัดปัตตานี
“เมืองงามสามวัฒนธรรม ศูนย์ฮาลาลเลิศล้ำ ชนน้อมนำศรัทธา ถิ่นธรรมชาติงามตา ปัตตานีสันติสุขชายแดนใต้”
ประวัติศาสตร์
จากหลักฐานทางโบราณคดีเบื้องต้น ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณในปัตตานีที่อำเภอยะรัง คือเมืองโบราณยะรัง เป็นเมืองพุทธศาสนถานมหายานเป็นเมืองที่มีความเจริญ ในช่วง พ.ศ. 700-1400 เป็นเมืองโบราณซ้อนทับกัน 3 เมือง ตั้งแต่บ้านวัดที่เก่าแก่ที่สุด บ้านจาเละ และบ้านประแว ในนี้มีโบราณสถานกว่า 40 แห่ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 มีความเจริญรุ่งเรือง มีศูนย์กลางการปกครองที่โกตามะลิฆา (Kota Malikha) ใน ตำนานมะโรงมหาวงศ์ มีชื่อ "ลังกาสุกะ" ซึ่งเจริญขึ้นมาร่วมสมัยกับยุคสหพันธรัฐเมืองท่าศรีวิชัย โดยมีพื้นฐานบ้านเมืองแรกเริ่มเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่บริเวณเมืองโบราณบ้านวัด
ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 18–20 เปลี่ยนไปรับอิทธิพลของอิสลาม และย้ายเมืองไปที่บ้านกรือเซะหรือหมู่บ้านปะตะนี เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ชายทะเลและปากแม่น้ำปัตตานีมากกว่าเมืองโกตามะลิฆา เมืองท่านี้มึความโดดเด่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 เมืองมีความเข้มแข็งพอที่จะต้านการรุกรานของรัฐที่ใหญ่โตกว่าอย่างกรุงศรีอยุธยา เมืองในยุคนี้มีประชากรต่างชาติต่างภาษาอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจีน ที่กลายมาเป็นชุมชนใหญ่ชุมชนหนึ่งในปัตตานี มีเหตุการณ์สำคัญอย่างกลุ่มโจรสลัดจากฝูเจียน นําโดยหลิน เต้า-เฉียน ได้อพยพหนีการปราบปรามของราชวงศ์หมิง ไปยึดเมืองปัตตานีไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ พ.ศ. 2116–2163 ชาวปัตตานีรู้จักในฐานะตํานานเรื่อง เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และการสร้างปืนใหญ่นางพญาตานี
อาณาจักรปัตตานีอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ลักษณะความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของไทย คราวใดไทยอ่อนแอหรือเกิดความวุ่นวายในราชธานี ปัตตานีก็จะถือเป็นอิสระ เมื่อเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ฝ่ายไทยก็ยกทัพไปปราบ จึงได้ปัตตานีมาเป็นส่วนหนึ่งของไทยอีกครั้ง จากนั้นมาไทยเริ่มปรับปรุงระบบควบคุมปัตตานีให้รัดกุมขึ้นเป็นลำดับ จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งมณฑลปัตตานี
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
ปัตตานีเป็นหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้สุด ติดกับทะเลจีนใต้ อยู่ห่างจากกรุงเทพโดยทางรถยนต์ประมาณ 1,055 กิโลเมตร หรือ 1,025 กิโลเมตรโดยทางรถไฟ (สถานีรถไฟโคกโพธิ์)
เขตการปกครอง
- อำเภอเมืองปัตตานี
โทรศัพท์ : 02-221-0151-8
โทรสาร. : 02-226-2810
อีเมล: webmaster@dopa.go.th
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอโคกโพธิ์
ที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ หมู่ที่ 7 ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี 94120
โทรศัพท์ : 0-7343-1200
โทรสาร : 0-7343-1200
อีเมล : -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอหนองจิก
ที่ว่าการอำเภอหนองจิก หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก
จังหวัดปัตตานี 94170
โทรศัพท์ : 0-7343-7032
โทรสาร: 0-7343-7032,0-7343-7100
อีเมล :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอปะนาเระ
ที่ว่าการอำเภอปะนาเระ หมู่ที่ 1 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ
จังหวัดปัตตานี 94130
โทรศัพท์ : 0-7349-9015
โทรสาร: 0-7349-9015
อีเมล :
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอมายอ
ที่ว่าการอำเภอมายอ ถนน ยะรัง-มายอ ตำบลมายอ อำเภอมายอ
จังหวัด ปัตตานี 94140
โทรศัพท์ : 0-7349-7015
โทรสาร: 0-7349-7015
อีเมล:-
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอทุ่งยางแดง
ที่ว่าการอำเภอทุ่งยางแดง หมู่ที่ 1 ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง
จังหวัดปัตตานี 94140
โทรศัพท์: 0-7348-9015
โทรสาร: 0-7348-9015
อีเมล: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอสายบุรี
ที่ว่าการอำเภอสายบุรี ถนนลูกเสือ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี
จังหวัด ปัตตานี 94110
โทรศัพท์ : 0-7341-1008
โทรสาร: 0-7341-1405
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
- อำเภอไม้แก่น
ที่ว่าการอำเภอไม้แก่น หมู่ที่ 1 ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น
จังหวัดปัตตานี 94220
โทรศัพท์ : 0-7348-1015
โทรสาร: 0-7348-1015
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอยะหริ่ง
ที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง หมู่ที่ 1 ถนนรามโกมุท ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง
จังหวัดปัตตานี 94150
โทรศัพท์ : 0-7349-1093
โทรสาร: 0-7349-1093
อีเมล: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอยะรัง
ที่ว่าการอำเภอยะรัง ถนนสิโรรส ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง
จังหวัดปัตตานี 94160
โทรศัพท์ : 0-7343-9222
โทรสาร: 0-7343-9222
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอกะพ้อ
ที่ว่าการอำเภอกะพ้อ หมู่ที่ 2 ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ
จังหวัดปัตตานี 94230
โทรศัพท์ : 0-7349-4099 0-7349-4239
โทรสาร: 0-7349-4099
อีเมล: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 - อำเภอแม่ลาน
ที่ว่าการอำเภอแม่ลาน หมู่ที่ 4 ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน
จังหวัดปัตตานี 94180
โทรศัพท์ : 0-7335-6101, 0-7333-0350
โทรสาร: 0-7335-6101
อีเมล: -
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567